สำนัก

ผมจะแนะนำสำนักที่มีจริงหรือมีสถานที่จริงนะครับ

วัดเส้าหลิน
       
                 วัดเส้าหลิน  เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ (จีน: 太室山) จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ  จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง
 
วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 องค์ มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนกำลังร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับโบราณสถานอีก 5 แห่ง

วัดเส้าหลิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1038 ในสมัยของไท่เหอเจ้าผู้ครองรัฐวุ่ยเหนือ ในปี พ.ศ. 929 - พ.ศ. 1077  วัดเส้าหลิน ในยุคสมัยบุกเบิกยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ภายหลังจากสร้างขึ้นมาได้ประมาณ 32 ปี ในปี พ.ศ. 1070 พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ พระภิกษุจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนที่วัดเส้าหลินเป็นครั้งแรก อีกทั้งแลเห็นว่าวัดเส้าหลินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุพุทธศาสนานิกายเซน จึงเข้าพำนักและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์แรก ทำให้ชื่อเสียงของวัดเส้าหลิน อยู่ในฐานะเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายเซนในประเทศจีน กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น
             ตั๊กม้อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชาวจีนเป็นอันมาก โดยเฉพาะการพัฒนาวิทยายุทธเส้าหลินให้ลึกล้ำขึ้นกว่าเดิม ถ่ายทอดธรรมะและวิชากังฟูให้ แก่หลวงจีนได้ฝึกฝนเพื่อออกกำลังกายและฝึกสมาธิ เนื่องจากเห็นว่าหลวงจีนส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถนั่งสมาธิวิปัสสนาและเจริญกรรมฐานอย่างเคร่งครัด จึงหัดให้หลวงจีนเริ่มฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่งควบคู่กับการปฏิบัติธรรม การฝึกสอนวิทยายุทธและกังฟูของตั๊กม้อ ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นที่มาของวิทยายุทธเส้าหลินที่สง่างามและทรงพลัง เช่น หมัดเส้าหลิน (อังกฤษ: Shaolin Chuan) หรือเพลงหมัดเส้าหลิน (อังกฤษ: Shaolin Ch'uan Fa) รวมทั้งหมด 18 กระบวนท่า อีกทั้งเป็นการปฏิรูปวิทยายุทธครั้งสำคัญเช่น การขยายท่าฝ่ามืออรหันต์จาก 18 ท่า เป็น 72 ท่า โดยเล็งเห็นว่าวิชากังฟูเส้าหลิน ควรได้รับการถ่ายทอดให้ขยายออกไป เช่นเดียวกับนิกายเซนที่ตั๊กม้อได้เดินทางมาเผยแผ่
วิทยายุทธวัดเส้าหลินเริ่มมีชื่อเสียงในสมัยราชวงค์ถัง  เนื่องด้วยมีหลวงจีนวัดเส้าหลิน13รูปช่วยหลี่ซือหมิง(พระเจ้าถังไท่จง)ผ่าวงล้อมทหารราชวงค์สุยในสมัยราชวงค์สุยตอยปลาย  ต่อมาถังไท่จงได้ทรงแต่งตั้งให้เฟิงถันจง หนึ่งในหลวงจีนที่ร่วมในการสู้รบให้ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพ พร้อมกับพระราชทานแท่นปักธงคู่และสิงโตหิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณอารามหน้าวัดเส้าหลินจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันในประเทศจีนมีวัดเส้าหลินทั้งหมดสามแห่ง แห่งแรกตั้งอยู่บนเทือกเขาซงซาน มณฑลเหอนาน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนานิกายเซนและกังฟูเส้าหลิน แห่งที่สองตั้งอยู่ที่เทือกเขาผานซาน สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หงวน และแห่งที่สามตั้งอยู่ที่เทือกเขาจิ่วเหลียนซาน มณฑลฮกเกี้ยน เรียก "สำนักเสี้ยวลิ้มใต้" คู่กับ "สำนักเสี้ยวลิ้มเหนือ" ที่เทือกเขาซงซาน สำนักใหญ่ของวัดเส้าหลิน แบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ๆ คือสายพระบู๊ซึ่งเป็นสายของการการสืบทอดศิลปะการต่อสู้และกังฟูเส้าหลินของ ตั๊กม้อ และสายพระวินัยซึ่งเป็นสายที่เน้นการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพุทธศาสนาเป็น สำคัญ


สำนักอู่ตัง(บู๊ตึ๊ง)

   อู่ตังพ่าย (บูตึงผ่าย) หมายถึงสำนักบูตึงหรือบู๊ตึ๊ง สำนักอู่ตังเป็นอารามทางลัทธิเต๋า เป็นสำนัก
ฝ่ายพรต สำนักอู่ตังเริ่มต้นจากปรมาจารย์จางซันเฟิง (เตียซำฮง) ได้บำเพ็ญพรตอยู่บนเขาอู่ตัง
และต่อมาได้รับศิษย์เอาไว้ได้ถ่ายทอดวิชามวยไท่เก๊กและวิชาอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายมวยภายใน โดย
สำนักอู่ตังเป็นตัวแทนฝ่ายมวยภายใน ส่วนวัดเส้าหลินเป็นตัวแทนฝ่ายมวยภายนอก ซึ่งทั้งสอง
สำนักนี้เป็นสำนักศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
   อู่ตังซาน (บูตึงซัว) คือภูเขาบูตึงตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ยทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
มีอีกชื่อว่าไท่เหอซาน (ไท่หั่วซัว) ข้างบนมีอารามของลัทธิเต๋าและมีผู้บวชเป็นนักพรตบำเพ็ญอยู่
ที่นี่ เขาอู่ตังมี 72 ยอดเขา36 หน้าผา 24 ถ้ำ ที่มีชื่อเสียง เล่ากันว่าที่เขาอู่ตังมีนักพรตเจินอู่
(จิงบู้) มาบำเพ็ญพรตจนสำเร็จเป็นเซียนเง็กเซียนฮ่องเต้มีบัญชาให้เฝ้าพิทักษ์ทางด้านทิศเหนือ
เจินอู่มีชื่อเดิมว่าเสวียนอู่ (เหี่ยงบู้) ฮ่องเต้เจินจงของราชวงศ์ซ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เสียใหม่ว่าเจินอู่
    อู่ตังเฉวียน (บูตึงคุ้ง) คือวิชามวยของอู่ตังหรือบูตึง อันเป็นวิทยายุทธ์ของสำนักใหญ่สำนักหนึ่ง
ของจีน วิชามวยของสำนักนี้เน้นความสงบมาสยบความเคลื่อนไหว ใช้ความอ่อนหยุ่น พิชิตความ
แข็งแกร่ง ใช้ความช้าเข้าต่อกรกับความเร็ว ใช้ช่วงสั้นเอาชนะช่วงยาว ฝึกฝนทั้งภายในและภาย
นอก ให้ความสำคัญทั้งทางด้านรูปลักษณ์และจิต
วิชามวยอู่ตังที่สำคัญก็มี มวยไท่จี๋ (ไท่เก๊ก) มวยอู๋จี๋ (มวยบ่อเก๊ก) มมวยอู่ตังไท่อี้อู่สิง (มวยบูตึง
ไท่อิกโหงวเฮ้ง) มวยอู่ตังอวี๋เหมิน (มวยบูตึงหื่อมึ้ง) อู่ตังปาเสอ (บูตึงโป้ยจี้) อู่ตังจิ่วกงสือปาถุย
(บูตึงเกาเก็งจับโป้ยทุ่ย) มวยภายในอู่ตังจางสงซี (มวยภายในบูตึงเตียส่งโคย) เป็นต้น
    อู่ตังไท่อี้อู่สิงเฉวียน (บูตึงไท่อิกโหงวเห่งคุ้ง) มวยนี้มีชื่อดั้งเดิมว่า อู่ตังไท่อี้อู่สิงฉินพูเอ้อสือ
ซานซื่อ (บูตึงไท่อิกโหงวเฮ้งคิ่มผกหยี่จับซาเส็ก) ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงในปี
รัชกาลหงจื้อ โดยจางโซ่วชิ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์รุ่นที่ 8 แห่งสำนักมังกร ในปี 1929
จินจื่อเทา (เป็นเชื้อพระวงศ์แมนจูที่มีชื่อเป็นแมนจูว่าอ้ายซินเจี๋ยหลอผู่ซวน) ได้ไปยังเขาอู่ตัง
เรียนวิชามวยนี้จากนักพรตหลี่เหอหลิน
มวยไท่อี้อู่สิงใช้ฝึกเพื่อบำรุงลมปราณ เสริมสร้างสุขภาพและยังใช้ในการป้องกันตัวได้ การเคลื่อน
ไหวอ่อนหยุ่นคล่องแคล่วและเป็นวงกลม ใช้จิตไม่ใช้กำลัง เคลื่อนไหวช้าๆ การเคลื่อนไหวดุจดั่ง
งู มวยนี้ยังมีการฝึกพื้นฐานมีชื่อเรียกว่า อู่ตังจิ่วกงสือเอ้อฝ่า (บูตึงเกาเก็งจับหยี่หวบ)
     อู่ตัวอวี๋เหมินเฉวียน (บูตึงหื่อหมึ่งคุ้ง) เป็นหนึ่งในสี่วิชามวยของอู่ตังที่มีชื่อเสียง (มวยสี่ชนิดคือ
มวยอวี๋เหมิน, ปาเสอ, ไท่อี้อู่สิง, และจิ่วกงสือปาถุ่ย ตามบันทึกของอู๋จื้อชิง ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ
ไท่จี๋เจิ้งจง กล่าวไว้ว่า
มวยอวี๋เหมิน มีเพลงมวยทั้งหมด 13 ชุด การใช้มีส่วนคล้ายคลึงกับมวยไท่เก๊ก และมีการผลักมือ
(ทุยโส่ว) มวยอวี๋เหมินใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับมวยสายอู่ตังอื่นๆ ใช้ความ
อ่อนพิชิตความแข็งกร้าว อาศัยการคล้อยตามท่าทางของคู่ต่อสู้ การปล่อยพลัง เลียนแบบการ
สะบัดตัวของปลา มีการใช้ร่างกาย 5 ส่วน เป็นอาวุธ ที่เรียกว่า อู่เฟิง (โงวฮง) ซึ่งหมายถึงส่วน
ศีรษะ หัวไหล่ ศอก ก้น และหัวเข่า ทั้ง 5 ส่วนนี้สามารถออกพลังทำร้ายคู่ต่อสู้ได้
วิชานี้ถ่ายทอดมาจากเมืองเสียนหนิง มณฑลหูเป่ย ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิง
ที่เขาหลงถันเมืองเสียนหนิง มีคนอยู่ 6 คนเป็นเพื่อนสนิทกัน เชี่ยวชาญทั้งบุ๋นและบู๊ หกคนนี้มี
แซ่เกอ เหอ จง ต่ง หัน จั๋ว ครั้งได้ไปเที่ยวที่เขาเฉวียนในช่องเขาจินเฟิ่ง ได้พบเห็นปลาในบึง
ว่ายน้ำไล่กันอย่างคล่องแคล่วว่องไวเป็นอัศจรรย์ พร้อมกับได้เห็นชาวประมงทำการเหวี่ยงแห
จับปลาอย่างคล่องแคล่วชำนาญ จึงได้คิดค้นมวยนี้ขึ้นมาจากแรงบันดาลใจของปลา
    อาวุธของสำนักอู่ตัง อาวุธที่พบเห็นกันบ่อยของสำนัก
อู่ตังมีกระบี่ไท่จี๋ (กระบี่ไท่เก๊ก) กระบี่อู่ตัง (กระบี่บูตึง) กระบี่ไป๋หง (กระบี่แป๊ะฮ้ง -กระบี่รุ้งขาว)
ดาบไท่จี๋ ดาบไท่จี๋เสวียนเสวียน (ดาบไท่เก๊กเหี่ยงเฮี้ยง) ดาบลิ่วเหอ (ดาบหลักฮะ -ดาบหก
สัมพันธ์) ทวนไท่จี๋, ทวนอินฝู (ทวนอิมฮู้) พลองไท่จี๋ พลองอินฝู (พลองอิมฮู้) พลองสงซี
(พลองซ่งโคย) เป็นต้น

สำนักง้อไบ้
    เอ๋อเหมยพ่าย (หง่อไบ่ไผ่) คือสำนักง้อไบ๊ที่พวกเราคุ้นเคยกันจากนิยายกำลังภายใน สำนักเอ๋อเหมย
เป็นสำนักวิทยายุทธ์สำนักหนึ่งของจีน วิชามวยของสำนักนี้มีอยู่หลายตระกูลด้วยกัน ซึ่งแพร่หลายกัน
อยู่ทั่วไปในแถบมณฑลเสฉวน ตั้งแต่โบราณกาลมา เอ๋อเหมย ชิงเฉิง (แชเซี้ย) หัวเอี่ยน (หั่วง้ำ)
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของมณฑลเสฉวน ซึ่งสำนักเอ๋อเหมยมีความ
ศรัทธาในวิชาบู๊ พวกพระและนักบวชจะฝึกฝนวิชาหมัดมวย ทวน ไม้พลอง ในยามที่ว่างจากการนั่ง
สมาธิ และการสวดมนต์ทำวัตร ค่อยๆ มีชื่อเสียงขึ้นมาจนกลายเป็นสำนักใหญ่แห่งหนึ่งในยุทธจักร
สำนักเอ๋อเหมยเป็นการผสมกันระหว่างพุทธและเต๋า สำนักนี้ได้คิดค้นวิธีการฝึกฝนพลังภายใน ทั้งใน
แบบเคลื่อนไหวและแบบสงบนิ่ง วิธีการฝึกนี้ต่อมาได้หลอมรวมเอาวิชาหมัดมวยและวิชาอาวุธเข้าไว้
ด้วยกัน กลายเป็นวิทยายุทธ์ของสำนักเอ๋อเหมย 
    เอ๋อเหมยซาน (หง่อไบ่ซัว) คือภูเขาง้อไบ๊ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตำบลเอ๋อเหมยใน
มณฑลเสฉวน ภูเขานี้มี 2 ลูก และมีลักษณะโค้งอย่างกับคิ้วของหญิงสาวที่ในวิชาโหงวเฮ้งเรียก
คิ้วแบบนี้ว่า คิ้วเอ่อเหมย (หง่อไบ๊) เขานี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งพุทธศาสนา และของทาง
ศาสนาเต๋าในประเทศจีน ปัจจุบันนี้เขาเอ๋อเหมยจะถูกบรรจุเข้าไว้ในรายการทัวร์ไปมณฑลเสฉวน
ซึ่งเป็นรายการทัวร์ยอดนิยมในขณะนี้

ภูเขาเอ๋อเหมย หรือง้อไบ๊

วิทยายุทธ์ 5 สำนักใหญ่ของเอ๋อเหมย มีชื่อเรียกการแบ่งแบบนี้ว่า อู่ฮวา (โหงวฮวย) แปลเป็นไทย
ว่า ห้าบุปผา ห้าสำนักนี้กระจายออกไปตามสถานที่ต่างๆ ในมณฑลเสฉวน โดยแบ่งออกได้ดังนี้
1 หวงหลิงพ่าย (อึ่งเหล่งไผ่) เป็นที่นิยมกันในแถบเฉิงตู
2 เตี่ยนอี้พ่าย (เตียมเอ็กไผ่) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนตง
3 ชิงเฉิงพ่าย (แชเสี่ยไผ่ สำนักแชเซี้ย) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนซี
4 เถี่ยฝวอพ่าย (ทิหุกไผ่) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนเป่ย
5 ชิงหนิวพ่าย (แชหงู่ไผ่) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนตง
วิทยายุทธ์ 8 สำนักใหญ่ของเอ๋อเหมย มีชื่อเรียกการแบ่งแบบนี้ว่า ปาเยี่ย (โป๊ยเฮียะ)
แปลเป็นไทยว่าแปดใบไม้ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
1 เจิงเหมิน (เจ็งมึ้ง) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนซี, ชวนหนาน
2 เย่วเหมิน (หงักมึ้ง) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนตง, ชวนหนาน
3 จ้าวเหมิน (เตี่ยมึ้ง) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนหนาน
4 ตู้เหมิน (โต่วมึ้ง) เป็นที่นิยมกันในแถบชวนเป่ย, หนานชง
5 หงเหมิน (อั่งมึ้ง) เป็นที่นิยมกันทั่วไปทั้งมณฑลเสฉวน
6 ฮว่าเหมิน (ฮ่วยมึ้ง) เป็นที่นิยมกันทั่วไปทั้งมณฑลเสฉวน
7 จื้อเหมิน (หยี่มึ้ง) เป็นที่นิยมกันในแถบกว่างอัน, เยี่ยฉือ
8 ฮุ่ยเหมิน (หุ่ยมึ้ง) เป็นที่นิยมกันในมณฑลเสฉวน แถบอูซานและริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
รวมทั้งได้เผยแพร่ไปถึงหูเป่ย กุ้ยโจวด้วย
สำหรับทั้ง 8 สำนักใหญ่นี้จะเขียนถึงรายละเอียดอีกครั้ง หากมีโอกาสได้เขียนถึงมวยในหมวดหนาน
เฉวียน (มวยใต้)



การฝึกพลังแบบสงบนิ่งและแบบเคลื่อนไหวของนสำนักเอ๋อเหมย สำนักเอ๋อเหมยให้ความสำคัญกับ
การฝึกพลัง ทั้งแบบสงบนิ่งและแบบเคลื่อนไหว มีการฝึก 12 แบบที่เรียกว่า สือเอ้อจวง (จับหยี่จวง)
อันมี เทียน (เทียง ฟ้า) ตี้ (ตี่ ดิน) จือ ซิน (ซิม ใจ) หลุง (เล้ง มังกร) เฮ่อ (เฮาะ กระเรียน) เฟิง
(ฮวง ลม) หวิน (ฮุ้ง เมฆ) ต้า (ไต๋ ใหญ่) เสี่ยว (เซี่ยว เล็ก) โยว (ฮิว สงัด) หมิง (เม้ง มัว) ส่วนการ
ฝึกพลังแบบสงบนิ่งมี 6 หมวดใหญ่คือ
1 หู่ปู้กง (โฮวโป่วกง) พลังพยัคฆ์ก้าว
2 จ้งฉุยกง (ตั่งตุ่ยกง) พลังหมัดหนัก
3 ซวอตี้กง (ซกตี่กง) พลังย่อพสุธา
4 เสวียนหน่างกง (หุ่ยลังกง) พลังหิ้วถุง (น่าจะหมายถึงการฝึกพลังเพื่อเก็บอัณฑะหรือการหดอัณฑะ
-เซียวหลิบงั้ง)
5 จื่อเสวียกง (จีหวกกง) พลังดรรชนี
6 เนี่ยผานกง (เนียบพ่วงกง) พลังนิพพาน (คำว่าเนี่ยผานหมายถึงนิพพาน เป็นการเรียกทับศัพท์)
ในพลังทั้ง 6 หมวดนี้ มีซานสือลิ่วเทียนกัง (ซาจับหลักเทียนกัง) ในหมวดของจื่อเสวียนกง มีพลังมาก
ที่สุด ซึ่งพลังนี้สามารถนำไปใช้พิชิตคู่ต่อสู้ และยังสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคโดยการนวดและกด
จุดได้ด้วย

สำนักคุนลุ้น
คุนหลุนพ่าย (คุงหลุ่งไผ่) คือสำนักคุนลุ้นที่เรารู้จักกันในนิยายกำลังภายใน วิทยายุทธ์ของสำนักนี้มีต้น
กำเนิดมาจากดินแดนแถบภูเขาคุนหลุน ภายหลังมีพวกที่อพยพถิ่นฐานจากแถบเขาคุนหลุนที่อยู่นอก
ด่านเข้าไปในเขตจงหยวน และได้ตั้งรกรากอยู่ในแถบเหอหนาน ได้นำเอาวิชานี้มาเผยแพร่ในดินแดน
ภาคกลางของจีน หลักวิชามวยของคุนหลุนเน้นความแข็งแกร่ง ว่องไว รวบรัด และมีพลัง มีเคล็ดอยู่ 8
ตัวอักษร คือ เตียวหวา เซียงเหมิ่ง ทุนกู่ ฝูเฉิน เตียวหวา (เตียวกุ๊ก เล่ห์เหลี่ยม)
เซวียงเหมิ่ง (เฮวียงแม่ ดุดัน)
ทุนกู่ (ทุงโถ่ว เก็บเข้าและปล่อยออก)
ฝูเฉิน (ผู่ติ๊ม ลอยและจม)

รูปแบบมือของมวยคุนหลุนมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย วิชามวยของคุนหลุนมี
เชียงหยาเฉวียน (เกียงแหง่คุ้ง)
ชาเฉวียน (ชะคุ้ง)
หลุงหู่เฉวียน (เหล่งโหวคุ้ง)
วิชามวยของคุนหลุนมีทั้งรุก และรับในตัว ใช้ทั้งมือและเท้า เล่ากันว่าจอมยุทธ์ดาบใหญ่หวังอู่ (เห่งโหงว)
ซึ่งเป็นเปาเปียวดับวานรแขนยาวหูชี (โอ่วฉิก) ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ทางภาคเหนือ ล้วนเป็นอาจารย์ใหญ่ของสำนัก
คุนหลุน
คุนหลุนซาน (คุงหลุ่งซัว) คือภูเขาคุนหลุน ซึ่งถูกจัดเป็นภูเขาที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีคำกล่าวแต่โบราณว่า
"แม่น้ำกำเนิดจากคุนหลุน" แม่น้ำที่กล่าวถึงนี้คือ แม่น้ำฮวงเหอซึ่งมีต้นกำเนิดจากลำธารเล็กๆ บนภูเขา
คุนหลุนรวมกันจนกลายเป็นแม่น้ำขนาดมหึมา ภูเขาคุนหลุนนี้ตั้งอยู่ในเขตซินเกียงทางทิศตะวันตกของจีน

ภูเขาคุนหลุน

ต้าเตาหวังอู่ (ตั่วตอเห่งโหงว) คือจอมยุทธ์ผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่าหวังอู่ ใช้ดาบใหญ่เป็นอาวุธประจำตัวจึงได้ฉายา
ว่าต้าเตา ซึ่งหมายถึงดาบใหญ่ ภาพยนต์กำลังภายในที่ฉายในบ้านเราก็เคยเอาเรื่องของจอมยุทธ์ผู้นี้มา
เสนอ แต่อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยกัน

ต้าเตาหรือดาบใหญ่
เล่ากันว่าหวังอู่เป็นอาจารย์ใหญ่ของสำนักคุนหลุน มีชีวิตอยู่ในปลายสมัยราชวงศ์ชิง ท่องเที่ยวอยู่ในเขต
ปักกิ่งและเทียนสิน ภายหลังเสียชีวิตในเหตุการณ์วุ่นวายของบ้านเมือง

อ้างอิง
th.wikipedia.org
www.thaitaiji.com